วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

กิจกรรมท้ายบทที่8

1.  "นาย A ทำการเขียนโปรแกรมขึ้นมาโปรแกรมหนึ่งเพื่อทดลองโจมตีการทำงานขอคอมพิวเตอร์สามารถใช้งานได้ โดยทำการระบุ IP-Address โปรแกรมนี้สร้างขึ้นมาเพื่อทดลองในงานวิจัย นาย B ที่เป็นเพื่อนสนิทของนาย A ได้นำโปรแกรมนี้ไปทดลองใช้แกล้งนางสาว C เมื่อนางสาว C ทราบเข้าก็เลยนำโปรแกรมนี้ไปใช้และส่งต่อให้เพื่อนๆ ที่รู้จักได้ทดลอง " การกระทำอย่างนี้ ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย
  • ผิดเพราะทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนและผิดจริยธรรมมากๆ ทั้งต่อด้านตนเองและสังคม และผิดกฎหมาย ทางด้านการละเมิดลิทธิของนาย A

2.  "นาย J ได้ทำการสร้างโฮมเพจ เพื่อบอกว่าโลกแบนโดยมีหลักฐาน อ้างอิงจากตราต่างๆ อีกทั้งรูปประกอบ เป็นการทำเพื่อความสนุกสนาน ไม่ได้ใช้ในการอ้างอิงทางวิชาการใดๆ เด็กชาย K เป็นนักเรียนในระดับประถมปลายที่ทำรายงานส่งครูเป็นการบ้านภาคฤดูร้อนโดยใช้ข้อมูลจากโฮมเพจของนาย J " การกระทำอย่างนี้เป็น ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหนจงอธิบาย
  • ไม่ผิดจริยธรรมหรือกฎหมายใดๆทั้งสิ้นเพราะ นาย J แค่ต้องการทำเพื่อความสนุกสนานเท่านั้นไม่ได้คิดจะทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนแต่อย่างใด

วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

กิจกรรมท้ายบทที่7

1. หน้าที่ของไฟร์วอลล์(Firewall)คือ
          เป็นตัวกรองข้อมูลสื่อสารระหว่างเขตที่เชื่อถือต่างกัน เช่น อินเตอร์เน็ต (อาจนับเป็นเขตที่เชื่อถือไม่ได้) และ อินทราเน็ต (เขตที่เชื่อถือได้) โดยการกำหนดกฎและระเบียบมาบังคับใช้โดยเฉพาะเรื่องของการดูแลระบบเครือข่าย ระดับโพรโทคอลของระบบเครือข่าย ความผิดพลาดของการปรับแต่งอาจส่งผลทำให้ไฟล์วอลมีช่องโหว่ อาจนำไปสู่สาเหตุของการโจรกรรมข้อมูลคอมพิวเตอร์ได้

2. จงอธิบายคำศัพท์ต่อไปนี้ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสคอมพิวเตอร์
          worm หมายถึง โปรแกรมซึ่งเป็นอิสระจากโปรแกรมอื่นๆ โดยขะแพร่กระจายผ่านเครือข่ายไปยังคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ที่อยู่บนเครือข่ายการแพร่กระจายจะคล้ายกับตัวหนอนที่เจาะไซหรือชอนไปยัะงเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆแพร่พันธุ์ด้วยการคัดลอกตนเองออกและส่งต่อผ่านเครือข่ายออกไป

3.ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง
          มี2ชนิด ได้แก่ 1) Application viruses
                                    2) System viruses

4.ให้นิสิตอธิบายแนวทางในการป้องกันไวรัวคอมพิวเตอร์มาอย่างน้อย 5 ข้อ
  • องค์กรมีนโยบายการให้ผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทุกคนต้องเปลี่ยนรหัสผ่านบ่อยๆ หรืออย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
  • มีการกำหนดสิทธิให้ผู้ใช้ระบบเข้าใช้ระบบในส่วนที่จำเป็นเท่านั้น
  • องค์กรอาจมีการนำอุปกรณ์ตรวจจับทางชีวภาพมาใช้ในการควบคุมการเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์
  • มีการเข้ารหัสข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
  • มีระเบียบการปฎิบัติในการควบคุมอย่างชัดแจ้งในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

5.มาตรการด้านจริยธรรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตที่เหมาะสมกับสังคมปัจจุบันได้แก่
          เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร (Information and Communication Technology:ICT) มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เพราะถือเป็นหัวใจสำคัญในการผลักดันประเทศเข้าสู่สังคมโลกาภิวัตน์ ซึ่งมีพื้นฐานแห่งการระดมสมอง ภูมิปัญญาและการเรียนรู้อย่างไม่หยุดนิ่ง การที่เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคมในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างต่อ เนื่องจนทำให้เกิด สภาพที่เรียกว่าพื้นที่ไซเบอร์ (Cyberspace) และโลกเสมือนจริง (Virtual World) นั้นมีผลทั้งในด้านดีและด้านเสีย ในด้านดีคือ เทคโนโลยีช่วยให้สังคมมีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว การทำงานต่างๆมีความสะดวกและรวดเร็ว มีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น เป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นได้ย่อโลกเราให้แคบลง ทุกสิ่งทุกอย่างเราสามารถค้นคว้าได้ภายในเวลาไม่กี่นาที ในด้านการทำงานนั้นมันเป็นตัวช่วยที่ดีเลยทีเดียว เพราะมันช่วยให้เราประหยัดเวลาในการทำงาน มันเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารทำให้เราไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางไป ติดต่อธุรกิจ นอกจากนี้มันยังมีประโยชน์อีกมากมายแต่ในด้านดีนั้นมันก็ยังมีด้านเสีย ประกอบอยู่ด้วยเพราะสภาพสังคมในปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจะ เห็นว่ามี ปัญหาต่างๆมากมายที่เกิดตามมาจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต เช่น คนในสังคมได้รับผลกระทบจากอัตราการจ้างงาน เมื่อมีการนำเอาระบบสารสนเทศมาใช้การจ้างงานจึงลดลง ทำให้คนขาดรายได้ และตกงาน เกิดอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เช่น การโจรกรรมผ่านระบบออนไลน์ เว็บไซด์ลามก การล่อลวงทางเพศในโลกออนไลน์ นอกจากนี้ยังมีอันตรายทางอ้อมจากเว็บไซด์อันตราย เช่น เกมส์ออนไลน์ที่อาจนำไปสู่การใช้ความรุนแรงในหมู่เด็กๆ และการไม่รับผิดชอบต่อความผิดที่เกิดขึ้น เพราะยากในการสืบสวน สอบสวน เนื่องจากโลกไซเบอร์นั้นมันมีอยู่ทั่วทุกที่ ยากต่อการควบคุมให้อยู่ในกฎระเบียบ อีกทั้งมันยังส่งผลกระทบด้านภาษา เราพบว่ามีการใช้ภาษาที่สั้นกะทัดรัด เป็น คำที่ใช้เฉพาะกลุ่ม มีการใช้คำแผลง อาจส่งผลต่อการนำไปใช้ในชีวิตจริงๆพฤติกรรมของกลุ่มบุคคลที่ทำการสร้างข่าว สารเท็จก่อให้เกิดความวุ่นวายกับเว็บไซด์  การฉ้อโกง การล่อลวงทางเพศ อาชญากรรมทางธุรกิจ โดยผู้กระทำผิดนั้นล้วนแล้วแต่ดำเนินการผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพราะมันยากต่อการติดตามของเจ้าหน้าที่รักษาความเรียบร้อยบนพื้นที่ออนไลน์  ดังนั้นคุณธรรมและจริยธรรมในการทำกิจกรรมต่างๆ บนพื้นที่ไซเบอร์ คือ มาตรการหนึ่งที่จะเป็นปัจจัยในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว และเพื่อที่จะให้เกิดการพัฒนาอย่างเหมาะสมและยั่งยืนต่อไปได้
          แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาบนพื้นที่ไซเบอร์
               1. มาตรการทางการบริหารหน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจัง รวมทั้งต้องมีบุคลากรที่เหมาะสม และเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน และในขณะนี้ทางภาครัฐได้มีการดำเนินนโยบายขยายการใช้อินเทอร์เน็ตไปสู่ สังคมระดับรากหญ้า หากไม่มีการระมัดระวังและเตรียมการที่ดีก็อาจเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมและ กิจกรรมที่ไม่เหมาะสมบนอินเทอร์เน็ตไปสู่รากหญ้าและเยาวชนในชนบท แต่หากมีการเตรียมการที่ดี ตำบลอาจใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการกระจายความเจริญทางเทคโนโลยีและกระจาย องค์ความรู้ใหม่ ๆไปสู่สังคมได้ ดังนั้นหน่วยงานดังกล่าวจะต้องมีการวางมาตรการที่เด็ดขาดในการควบคุมดูแล พื้นที่ไซเบอร์ มีนโยบายที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ
               2. มาตรการทางกฎหมาย หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายต้องมีบุคลากรอย่างเพียงพอ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นอกจากกำหนดให้การกระทำอันมิชอบทั้งหลายบนอินเทอร์เน็ต เป็นความผิดที่ไม่ต่างจากการกระทำในโลกจริงแล้วยังพยายามแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมาย เพิ่มอำนาจการสืบสวนสอบสวน เพื่อแสวงหาพยานหลักฐานให้กับเจ้าพนักงานของรัฐรวมทั้งกำหนดให้ผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวพันกับข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหลายมีหน้าที่ตาม กฎหมายต้องจัดเก็บส่งมอบหรือให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานเพื่อช่วยกันนำตัว ผู้กระทำความผิดมาลงโทษ
               3. มาตรการทางการควบคุมจรรยาบรรณ จะต้องมีเครือข่าย ที่มีการดูแล ผู้ประกอบอาชีพและทำกิจกรรมบนพื้นที่ไซเบอร์ ที่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างต่อเนื่องและจริงจัง ควรมีการป้องกันการชี้นำความคิดที่ผิดให้แก่คนในสังคม การที่ต้องมีการกระตุ้นให้เกิดสมาคมและเครือข่ายเพื่อดูแลกันเอง เพราะการเก็บข้อมูล หรือแสดงข้อมูล เพื่อแสดงตัวตน และความน่าเชื่อถือในขอบเขตเรื่องธุรกิจ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ก็เพื่อให้สามารถยืนยันตัวตนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น และองค์กร เครือ ข่าย สมาคม ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยังสามารถช่วยเหลือคนในวงการอินเตอร์เน็ต ช่วยคนทำเว็บไซต์ ใช้สายสัมพันธ์ในการให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
               4. มาตรการทางสังคม ต้องยกระดับและพัฒนาสถาบันพื้นฐาน เช่น สถาบันครอบครัวสถาบันศาสนา สถาบันทางสังคม และสถาบันทางธุรกิจให้มีความรู้ ความสามารถด้านไอทีเพียงพอที่จะดูแลบุคคลในสถาบันของตน โดยที่ผู้นำองค์กรทางธุรกิจและสังคมต้องมีความรู้ทาง ไอทีเป็นอย่างดี
               5. มาตรการทางการศึกษา ควรพัฒนาการศึกษาระบบสารสนเทศและความรู้ไอทีให้กว้างขวาง รวมทั้งจัดทำหลักสูตรออนไลน์ ให้ครอบคลุมทุกสาขาวิชา ทั้งในและนอกระบบการศึกษา
               6. มาตรการทาง คุณธรรมและจริยธรรม ได้แก่ การจัดระบบการให้การศึกษาแก่ผู้ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ทางด้านคุณธรรมและ จริยธรรม เพื่อให้เขาเหล่านั้นเข้าไปชักนำโลกเสมือนจริงและการทำกิจกรรมบนพื้นที่ไซ เบอร์ไปในทางที่ถูกที่ควร

วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

กิจกรรมท้ายบทที่ 6

จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว

1. การประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นความหมายของข้อใด
          ตอบ=> เทคโนโลยีสารสนเทศ

2. เทคโนโลยีสารสนเทศใดก่อให้เกิดผลด้านการเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม?
          ตอบ=> ระบบการเรียนสอนทางไกล

3. การฝากอนเงินผ่าน ATM เป็นลักษณะเด่นของเทคโนโลยีสารสนเทศข้อใด?
          ตอบ=> ระบบอัตโนมัติ

4. ข้อใดคือการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ?
          ตอบ=>  ถูกทุกข้อ

5. เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึงข้อใด?
           ตอบ=> การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาสร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ

6. เครื่องมือทีสำคัญในการจัดสารสนเทศในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร?
          ตอบ=>ถูกทุกข้อ

7. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ?
          ตอบ=> เทคโนโลยีทำให้การสร้างพักอาศัยมีคุณภาพ

8. ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ที่ช่วยงานด้านสารสนเทศ?
          ตอบ=> เครื่องถ่ายเอกสาร

9. ข้อใกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ?
          ตอบ=> ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

10. ข้อใดคือประโยชน์ที่ได้จากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการเรียน?
        ตอบ=>  ถูกทุกข้อ

กิจกรรมท้ายบทที่ 5

1. จงอธิบายความหมายของการจัดการสารสนเทศ
           การจัดการสารสนเทศ หมายถึง การทำกิจกรรมหลักต่างๆในการจัดหา การจัดโครงสร้าง(Organization) การควบคุม ผลิต การเผยแพร่และการใช้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์การทุกประเภทอย่างมีประสิทธิผล ซึ่งสารสนเทศในที่นี้หมายถึงสารสนเทศทุกประเภทที่มีคุณค่าไม่ว่่าจะมีแหล่งกำเนิดจากภายในหรือภายนอกองค์การ โดยมีการนำเทคโนโลยีต่างๆโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการจัดการรวมทั้ง รวมทั้งมีนโยบายหรือกลยุทธ์ระดับองค์การในการจัดการสารสนเทศ

2. การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลแต่ละองค์การอย่างไร
         2.1 ความสำคัญต่อบุคคล มีความสำคัญทั้งในด้านการดำรงชีวิตประจำวัน การศึกษา และการทำงานประกอบอาชีพต่างๆ บุคคลย่อมต้องการสารสนเทศหลายด้านเพื่อใช้ชีวิตอย่างราบรื่น มีความก้าวหน้า มีความทันต่อเวลา และมีความสุข เช่น การจัดการค่าใช้จ่ายของครอบครัว ของบุคคล การดูแลที่อยู่อาศัย ตลอดจนการเลี้ยงดูคนในครอบครัวให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถที่ทำคุณประโยชน์ต่อสังคม ด้านการศึกษา เช่น สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษา ติดต่อกับสถาบันการสึกาาในีะบบเปิดหรือเรียนทางระบบออนไลน์
         2.2 ความสำคัญต่อองค์การ
                1. ความสำคัญด้านการบริหารจัดการ
                2. ความสำคัญในด้สนการดำเนินงาน
                3. ความสำคัญด้านกฎหมาย

3. พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ยุค อะไรบ้าง
          แบ่งออกเป็น 2 ยุค ได้แก่
               3.1 การจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ เริ่มต้นเมื่อมีการสร้างอารยธรรมในการบันทึกความรู้ราว 2000-8000 ปีก่อนคริตศักราช ในระยะแรกใช้สื่อในรูปแบบสิ่งพิมพ์ เน้นการรวบรวมรายชื่อหนังสือ เรียงตามขนาดรูปเล่ม สี ลำดับ ตัวอัการ ผู้แต่ง ชื่อหนังสือ เลขทะเบียน ต่อมามีการจัดทำแบบแคตตาล็อก หรือ บัตรรายการหนังสือ 
               3.2 การจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์ เกิดขึ้นเมื่อมีสารสนเทศปริมาณมากมาย รูปลักษณ์หลากหลายของคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ในระยะเวลาต่อมามีการนำมาใช้พัฒนากลายเป็นระบบสารสนเทศในการทำงานเฉพาะด้านต่างๆ เช่น ใช้ระบบของคอมพิวเตอร์ในการคืนหนังสมอในห้องสมุด

4. จงยกตัวอย่างการจัดการสารสนเทศที่นิสิตใช้ในชีวิตประจำวันมา อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง
           การอ่านหนังสือในเว็บไซน์
           การเก็บภาพหรือข้อมูลต่างๆไว้ในอีเมล
           การค้นหาข้อมูลต่างๆในเว็บไซน์